ชาวเลมอแกน มีประชากรในประเทศไทยประมาณ 400 คน และในประเทศเมียนมาร์อีกประมาณ 2,000-3,000 คน ส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตกึ่งเร่ร่อน เดินทางทางทะเลบ่อยครั้ง มีพิธีประจำปีคืองานฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ จัดขึ้นปีละครั้ง ในช่วงนี้มอแกนจากเกาะต่างๆ จะชุมนุมกันเพื่อร่วมงานฉลองโดยงดออกทะเล 3 วัน 3 คืน ประมาณ 20- 30 ปีที่ผ่านมา มีมอแกนหลายครอบครัวที่ตั้งหมู่บ้านค่อนข้างถาวรที่หมู่เกาะสุรินทร์ วิถีชีวิตที่อพยพโยกย้ายอยู่บ่อยครั้งและเน้นการยังชีพ เก็บหาอาหารจากธรรมชาติ ไม่ได้ทำลายความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในหมู่เกาะสุรินทร์
การทำลายระบบนิเวศน์รอบๆ หมู่เกาะสุรินทร์ส่วนใหญ่เกิดจากการทำประมงผิดกฎหมายโดยเรือประมงพาณิชย์ ก่อนที่จะมีการติดตั้งทุ่นผูกเรือ การทอดสมอของเรือท่องเที่ยวทำให้ปะการังแตกหักเสียหาย การประกาศพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2524 ทำให้มีกฎระเบียบในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น
ในขณะเดียวกันมอแกนก็เริ่ม ตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวรมากขึ้น เนื่องจากเปลือกหอยและสัตว์ทะเลหลายชนิดมีราคาดี จึงทำให้มอแกนนำทรัพยากร เหล่านี้ไปขายเพื่อซื้อข้าวสาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ดังนั้น การจัดการอุทยานหมู่เกาะสุรินทร์ควรจะส่งเสริม ให้ชาวเลมอแกนทำมาหากิน ได้อย่างไม่เบียดเบียนธรรมชาติ พึ่งพาตนเองได้ มีความภาคภูมิใจในสังคมวัฒนธรรมของตน และการจัดการควรต้องคำนึงถึงรากฐานทางวัฒนธรรมและความต้องการพื้นฐานของมอ แกนด้วย
ประชากรมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ มีจำนวนขึ้นลงอยู่ระหว่าง 130-200 คน เนื่องจากบางครอบครัวยังอพยพโยกย้ายไปมา และมีการเดินทางไปมาเพื่อเยี่ยมเยียน เพื่อนฝูงญาติพี่น้องอยู่เสมอ อัตราการเกิดค่อนข้างสูง แต่อัตราการตายของเด็กทารก ก็สูงด้วยเช่นเดียวกัน
มอแกนส่วนใหญ่มีอายุขัยไม่ยืนยาวนัก การติดสาร เสพติด เช่น ยาเส้น เหล้าขาว และสารกระตุ้นอื่นๆ ซึ่งต้องเพิ่มปริมาณการใช้มากขึ้นๆ เพื่อให้ทำงานหนักและอดทนได้ยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชายมอแกนซึ่งต้องออก ทำมาหากินทางทะเลเสียชีวิต ไปเป็นจำนวนมาก และ ทำให้จำนวนประชากรหญิงชายมอแกนมีสัดส่วนที่ไม่ สมดุล นอกจากนั้น ยังทำให้หญิงหม้ายมีภาระต้อง เลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทางทำมา หากินจำกัดลง