ยินดีต้อนรับเข้าสู่ทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นส่วนนึ่งของวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เกาะตะปู


เกาะตะปูหรือเขาตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยี เดินทางไปถึงได้โดยทางเรือจากอ่าวพังงา ใช้เวลาไป-กลับประมาณ 3 ชั่วโมง รวมแวะเที่ยวเกาะปันหยี และเกาะเขาพิงกันซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันกับเกาะตะปู


         
 เขาตะปู เป็นจุดที่เรือทุกลำจะจอดให้นักท่องเที่ยวแวะชมและถ่ายภาพ เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ เพราะเป็นฉากหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์


เกาะเสม็ด



เกาะเสม็ด, เสม็ด หรือ เกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของระยอง ที่ได้รับ ความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศ ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง จ.ระยองอยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่


มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม (แผนที่เกาะเสม็ด) ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้าสู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด

 ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือและตะวันออก เหตุที่มีชื่อว่า เกาะเสม็ดเพราะเกาะนี้มีต้นเสม็ดขาว และเสม็ดแดงขึ้นอยู่มาก ซึ่งในอดีตชาวบ้านนำมาใช้ทำไต้จุดไฟ บนเกาะเสม็ดไม่มีแม่น้ำลำคลอง ประมาณ 80% ของพื้นที่ เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ช่วงเดือนพฤษภาคมมีมรสุมและคลื่นลมจัดมาก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุก.

เกาะพะงัน


เกาะพะงัน Koh Phangan เป็น 1 ใน 2 อำเภอกลางทะเลของสุราษฏร์ธานี เกาะพะงันอยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศเหนือประมาณ 20 ฏิโลเมตรและอยู่ห่างจากจังหวัดสุราษฏร์ธานี 1    00 กิโลเมตร เกาะพะงันเล็กกว่าเกาะสมุย มีภูมิประเทศเป็นภูเขาอยู่กลางเกาะทอดตัวจากทิศเหนือจดใต้ มีที่ราบบริเวณทิศตะวันตก ส่วนทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาจดทะเล บางแห่งมีอ่าวเล็ก อ่าวน้อยให้เรือหลบลมได้


เมื่อเอ่ยชื่อเกาะพะงัน นักท่องท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติต้องนึกถึงที่เกาะพงัน ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน "ฟูลมูนปาร์ตี้" ปาร์ตี้ริมหาดริ้นที่ดังระดับโลก ซึ่งจะจัดขึ้นทุกวันพระจันทร์เต็มดวงขึ้น 15 ค่ำ ปาร์ตี้ที่ไหนว่าแน่ เจอฟูลมูนปาร์ตี้ของเกาะพะงันเข้าไป เป็นต้องชิดซ้าย เพราะเป็นปาร์ตี้บนเกาะพงันที่สนุกสนานกันทั้งหาดกับเครื่องดื่มหลากหลายชนิด พร้อมเสียงเพลงอึกทึกเร้าใจตลอดค่ำคืน


อันที่จริงแล้วเกาะพะงันไม่เพียงเป็นที่รู้จักกันในบรรยากาศของฟูลมูนปาร์ตี้เท่านั้น แต่ธรรมชาติของเกาะพงันรวมกับหาดทะเลที่นี้สวยงาม ไม่แพ้เกาะใดๆ ในทะเลสุราษฏร์ธานี มีผืนป่าเขียวขจีที่สมบูรณ์ มีกิจกรรมหลากหลายทางทะเล ทั้งดำน้ำตื้น ดำน้ำลึก เดินป่า ดูนก ชมวิถีชีวิตชาวเกาะชาวประมงที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ชุมชนดั้งเดิมไว้

หาดป่าตอง


ป่าตองเป็นหาดที่โด่งดังที่สุดของภูเก็ต ลักษณะของหาดจะโค้ง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือใต้ ถึงแม้ในปัจจุบัน ป่าตองจะเจริญไม่แพ้ตัวเมืองภูเก็ต มีโรงแรม, สถานบริการ, ร้านค้า, ธนาคาร .... มากมาย แต่ชายหาดของป่าตอง ก็ยังขาว น้ำยังคงใส ถูกใจชาวต่างชาติอยู่เสมอ



หากไปเดินที่ป่าตองในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ชาวไทยเรา แทบจะเป็นคนแปลกหน้า เลยทีเดียว เพราะที่นี่ จะเต็มไปด้วยฝรั่ง หลายชาติหลายภาษา ร้านค้าต่าง ๆ ก็ใช้ป้ายภาษาอังกฤษทั้งนั้น เรียกได้ว่ามาถ่ายรูปที่นี่ ก็เหมือนกับได้ไปเที่ยว ต่างประเทศ เลยทีเดียว ด้วยความเจริญอย่างมากของป่าตองนี่เอง ที่นี่จึงเป็นศูนย์รวมสินค้าราคาถูกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า, นาฬิกา และของฝากอื่น ๆ โดยเแฉพาะกลางคืน จะมีแผงขายของข้างทางมากมาย หากต่อราคาเก่ง ๆ ก็คงได้ของฝากติดมือราคาไม่แพง ไปฝากคนที่บ้านแน่นอน


สำหรับผู้ที่ชอบกีฬาทางน้ำ ที่ป่าตองมีให้เลือกได้ทุกประเภท แต่ก็ต้องระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากที่นี่ จะมีนักท่องเทียวไปเล่นน้ำมากมาย ตลอดแนวหาดเลยทีดียว ติด ๆ กับหาดป่าตองเป็นหาดทรายเล็ก ๆที่เรียกว่าหาดกะหลิม ซึ่งที่นี่จะมีโขดหินค่อนข้างเยอะ เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนชมวิวมากกว่าเล่นน้ำ

เกาะกูด


 เกาะกูด เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราด 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,625 ไร่ โดยมีขนาดความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร และขนาดความกว้าง 12 กิโลเมตร 



          ชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของ เกาะกูด ส่วนใหญ่เป็นคนไทย และคนเขมรในเกาะกงที่อพยพเข้ามาเมื่อเมืองปัจจันตคีรีเขตรตกเป็นเมืองขึ้น ของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2447 หมู่บ้านคลองมาด เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด ปัจจุบันชาวเกาะยังดำรงชีพด้วยเกษตรกรรม ทั้งทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้เพียงเล็กน้อย และทำประมงชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย 


          ลักษณะโดยทั่วไปของ เกาะกูด ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขา และที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิด ลำธาร สายน้ำ ทำให้ เกาะกูด มีน้ำตกหลายแห่ง แต่ที่ขึ้นชื่อบน เกาะกูด คือ น้ำตกคลองเจ้า จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำตกแห่งนี้ถือว่าเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงพระราชทานนามว่า "น้ำตกอนัมก๊ก" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์เชียงสือกษัตริย์ญวนที่เคยเข้ามาลี้ภัยจากการจราจลในสมัยรัชกาลที่ 1


          ทางฝั่งตะวันตกของเกาะตั้งแต่อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ แหลมหินดำ หาดคลองเจ้า หาดง่ามโข่ แหลมบางเบ้า หาดอ่าวพร้าว ไปจนสุดปลาย แหลมเทียน และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันออกที่น่าสนใจ ได้แก่ อ่าวสับปะรด แหลมศาลา อ่าวยายเกิด อ่าวคลองหิน อ่าวจาก ล้วนแต่เป็นหาดที่มีหาดทรายสวยงาม และน้ำทะเลใส มีธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด  นอกจากนี้ บน เกาะกูด ยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ แนวปะการังนานาชนิดและปลาทะเลสีสันสวยงาม 

          

เกาะเต่า


เกาะเต่าเป็นเกาะที่ได้ชื่อว่าเป็น เกาะสวรรค์กลางทะเลอ่าวไทยเนื่องจากเป็นเกาะที่มีธรรมชาติสวยงามและอุดมสมบูรณ์ มีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกขนาดใหญ่และสวยงาม อันเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลากชนิดจำนวนมาก เป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกอีกแห่งหนึ่ง ที่นักดำน้ำทั่วโลกต่างพากันหมุนเวียนมาเยี่ยมเยือนและสัมผัสกับโลกใต้ทะเลของเกาะสวรรค์แห่งนี้ ปัจจุบันจึงมีโรงเรียนสอนดำน้ำหลายแห่งมาเปิดกิจการบนเกาะ และมีโรงเรียนสอนดำน้ำจากที่อื่นๆ นิยมแวะเวียนมาใช้เกาะเต่าเป็นสถานที่ฝึกสอนกันอยู่เสมอ

นอกจากนี้ เกาะเต่ายังมีหาดทรายขาวละเอียดที่สะอาดบริสุทธิ์ สวยงาม และสงบเงียบ อีกหลายแห่งรอบเกาะ ที่เติมเต็มให้เกาะแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ เหมาะสมกับฉายา เกาะสวรรค์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคและของประเทศ




เกาะเต่าเป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากชายฝั่งของจังหวัดชุมพรประมาณ 74 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 110 กิโลเมตร ห่างจากเกาะสมุยประมาณ 64 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเกาะพะงันประมาณ 45 กิโลเมตร


ด้วยความที่เป็นเกาะที่อยู่ไกลจากแผ่นดินใหญ่มาก มีสภาพธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ในอดีตบริเวณชายหาดรอบๆ เกาะเต่าจึงเต็มไปด้วยเต่าที่มาหาแหล่งวางไข่เป็นจำนวนมาก อันเป็นที่มาของชื่อ เกาะเต่านั่นเอง ปัจจุบันเกาะเต่าเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่เกาะสิมิลัน




หมู่เกาะสิมิลัน อยู่ในเขตจังหวัดพังงา เป็นหมู่เกาะ 9 เกาะท่ามกลางทะเลลึก ที่วางตัวเรียงรายตามแนวยาวเหนือ-ใต้ มีความสวยงามสุดยอดทั้งเหนือผิวน้ำและใต้ท้องทะเล แนวปะการังของสิมิลันแผ่กระจายอย่างหนาแน่นและมีความหลากหลาย โดยเฉพาะทางทิศตะวันออก มีจุดดำน้ำตื้นและน้ำลึกที่น่าสนใจมากมาย ด้วยเหตุนี้เองหมู่เกาะสิมิลันจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งดำน้ำลึกที่มีคุณภาพสูงที่สุดของประเทศไทย
คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า หรือ หมู่เกาะเก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด 9 เกาะ เรียงลำดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง (มี 2 เกาะติดกัน) เกาะปายู เกาะหัวกระโหลก ( เกาะบอน) เกาะสิมิลัน และเกาะบางู
ส่วนที่ทำการอุทยานฯนั้น จะตั้งอยู่ที่เกาะเมี่ยงเพราะเป็นเกาะที่มีน้ำจืด หมู่เกาะเหล่านี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความงามทั้งบนบกและใต้น้ำที่ยังคงความสมบูรณ์ของท้องทะเล สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก มีปะการังที่มีสีสันสวยงามหลากชนิด ปลาหลากสีสันและหายาก เช่น กระเบนราหู ปลาวาฬ ปลาโลมา ปลาไหลมอเร่ ปลาการ์ตูน
ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน เป็นช่วงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เป็นฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีคลื่นลมแรงมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ดังนั้นทางอุทยานฯ จึงประกาศปิดเกาะในเดือนพฤษภาคมเพื่อเป็นการฟื้นฟูธรรมชาติทุกปี

ชาวมอแกน



  ชาวเลมอแกน มีประชากรในประเทศไทยประมาณ 400 คน และในประเทศเมียนมาร์อีกประมาณ 2,000-3,000 คน ส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตกึ่งเร่ร่อน เดินทางทางทะเลบ่อยครั้ง มีพิธีประจำปีคืองานฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ จัดขึ้นปีละครั้ง ในช่วงนี้มอแกนจากเกาะต่างๆ จะชุมนุมกันเพื่อร่วมงานฉลองโดยงดออกทะเล 3 วัน 3 คืน ประมาณ 20- 30 ปีที่ผ่านมา มีมอแกนหลายครอบครัวที่ตั้งหมู่บ้านค่อนข้างถาวรที่หมู่เกาะสุรินทร์ วิถีชีวิตที่อพยพโยกย้ายอยู่บ่อยครั้งและเน้นการยังชีพ เก็บหาอาหารจากธรรมชาติ ไม่ได้ทำลายความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในหมู่เกาะสุรินทร์




การทำลายระบบนิเวศน์รอบๆ หมู่เกาะสุรินทร์ส่วนใหญ่เกิดจากการทำประมงผิดกฎหมายโดยเรือประมงพาณิชย์ ก่อนที่จะมีการติดตั้งทุ่นผูกเรือ การทอดสมอของเรือท่องเที่ยวทำให้ปะการังแตกหักเสียหาย การประกาศพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2524 ทำให้มีกฎระเบียบในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น


ในขณะเดียวกันมอแกนก็เริ่ม ตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวรมากขึ้น เนื่องจากเปลือกหอยและสัตว์ทะเลหลายชนิดมีราคาดี จึงทำให้มอแกนนำทรัพยากร เหล่านี้ไปขายเพื่อซื้อข้าวสาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ดังนั้น การจัดการอุทยานหมู่เกาะสุรินทร์ควรจะส่งเสริม ให้ชาวเลมอแกนทำมาหากิน ได้อย่างไม่เบียดเบียนธรรมชาติ พึ่งพาตนเองได้ มีความภาคภูมิใจในสังคมวัฒนธรรมของตน และการจัดการควรต้องคำนึงถึงรากฐานทางวัฒนธรรมและความต้องการพื้นฐานของมอ แกนด้วย



ประชากรมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ มีจำนวนขึ้นลงอยู่ระหว่าง 130-200 คน เนื่องจากบางครอบครัวยังอพยพโยกย้ายไปมา และมีการเดินทางไปมาเพื่อเยี่ยมเยียน เพื่อนฝูงญาติพี่น้องอยู่เสมอ อัตราการเกิดค่อนข้างสูง แต่อัตราการตายของเด็กทารก ก็สูงด้วยเช่นเดียวกัน 


มอแกนส่วนใหญ่มีอายุขัยไม่ยืนยาวนัก การติดสาร เสพติด เช่น ยาเส้น เหล้าขาว และสารกระตุ้นอื่นๆ ซึ่งต้องเพิ่มปริมาณการใช้มากขึ้นๆ เพื่อให้ทำงานหนักและอดทนได้ยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชายมอแกนซึ่งต้องออก ทำมาหากินทางทะเลเสียชีวิต ไปเป็นจำนวนมาก และ ทำให้จำนวนประชากรหญิงชายมอแกนมีสัดส่วนที่ไม่ สมดุล นอกจากนั้น ยังทำให้หญิงหม้ายมีภาระต้อง เลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทางทำมา หากินจำกัดลง

หมู่เกาะตะรุเตา




            เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์ และความสวยงาม ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อุทยานแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองสตูล ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กม. และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบาราประมาณ 22 กม. แนวเขตด้านใต้ของอุทยานฯ ติดกับเส้นเขตแดนใน ทะเล ระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย
          “ตะรุเตา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติ ที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั่วไป เนื่องจากเป็นจุดรวมของ ความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะ และในน้ำ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในน้ำก็งดงาม ด้วยกลุ่มปะการังหลากสี สวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ รวมทั้งพื้นที่บนเกาะ และทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร

ทะเลแหวก



ทะเลแหวก ลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำดุจทะเลแหวกออก จนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสามเกาะอย่างอัศจรรย์



 ทะเลแหวกเป็นกลุ่มของเกาะ 3 เกาะ ที่มีหาดทรายเชื่อมติดกันได้แก่  เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ท่านสามารถเดินข้ามจากเกาะไก่ไปยังเกาะทับได้ในยามน้ำลง หากจะให้ดีก็ควรจะเป็นในช่วงน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน



โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือ มาตกปลา มากางเต้นท์ นอนนับดาวในคืนเดือนแรม หรือชมแสงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ ค้างคืนบนเกาะได้ แต่ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้นอนค้างแรมบนเกาะแล้ว ทะเลแหวกถือว่าเป็นไฮไลท์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของกระบี่เลยทีเดียว มาเที่ยวทะเลกระบี่ทั้งที ต้องมาเที่ยวทะเลแหวกให้ได้สักหนึ่งหน

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

แหลมพรหมเทพ


แหลมพรหมเทพ ภูเก็ต 
ในบรรดาสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่ขึ้นชื่อของเมืองไทย เชื่อแน่ว่านักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยคงต้องนึกถึง แหลมพรหมเทพ ที่จังหวัดภูเก็ต เพราะมีหลายสิ่งที่แตกต่างไปจากที่อื่นๆ เช่นจุดชมวิวอยู่บนชะง่อนเขา ซึ่งมองเห็นทะเลอันเวิ้งว้างได้รอบทิศ และบริเวณนั้นก็ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นภาพที่มีเสน่ห์ มีมนต์ขลัง ชวนให้หลงไหล
แหลมพรหมเทพถือว่าเป็นสถานที่โรแมนติกแห่งหนึ่งของเกาะภูเก็ต หลายคู่มักชวนกันมานั่งชมพระอาทิตย์ตก ดื่มด่ำกับบรรยากาศใน ยามเย็นที่มองเห็นระลอกคลื่นแต่ไกล ทอดอารมณ์และปล่อยความรู้สึกไปกับทะเลที่ระยิบระยับอันกว้างไกล มีท้องฟ้าเป็นฉากขนาดใหญ่ อยู่เบื้องหน้า มองเห็นดวงอาทิตย์ลูกกลมสีแดงสดค่อยๆทอดตัวลงแตะขอบน้ำแล้วก็จมหายไป เหมือนเป็นการปิดฉากละครเวทีของธรรมชาติ ที่หลายร้อยชีวิตกำลังจ้องมองดูอย่างประทับใจ ก่อนที่เวทีขนาดยักษ์นี้จะค่อยๆมึดลงและผู้ชมต่างทะยอยลุกจากที่นั่ง


ปัจจุบันแหลมพรหมเทพ กลายเป็นแหล่งนัดพบของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ ที่พอถึงช่วงเย็น ก็จะมารวมกันที่นี่โดยมิได้นัดหมาย ทั้งรถส่วนตัว รถทัวร์ รถตู้ จอดกันเต็มลาน จนกลายเป็นตลาดนัดที่ขายสาระพัดบนเขาสูงของเกาะภูเก็ต แต่พอหลังพระอาทิตย์ตกผ่าน พ้นไปแล้ว รถทุกชนิดก็มุ่งหน้าลงเขาไปพร้อมๆกัน จากนั้นทุกอย่างก็เข้าสู่ภาวะปกติ แหลมพรหมเทพจึงมีสภาพที่คึกคักในช่วงเวลา เพียงแต่ 2-3 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตกเท่านั้นเอง


บางคนบอกว่าแหลมพรหมเทพ เป็นอัญมณีที่ช่วยเติมแต่งให้ ภูเก็ต หรือฉายา ไข่มุกแห่งอันดามัน มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
ภูเก็ตเป็นจังหวัดเดียวที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะ เป็นสถานท่องเที่ยวระดับของโลก และก่อนที่จะโด่งดังถึงขนาดนี้ ก็มีสถานที่สำคัญๆและเป็นที่รู้จักเพียงไม่กี่แห่ง แรกเริ่มก็มีแหล่งเลี้ยงไข่มุกที่มีชื่อเสียง เป็นไข่มุกที่มีคุณภาพดีระดับโลก มีหาดทรายและทะเลที่สวยงามมีแหล่งดำน้ำดูปะการัง มีจุดชมวิวที่สวยงาม ก็คือแหลมพรหมเทพ และสภาพทั่วไปรอบๆเกาะยังเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ก็มีที่อาบแดดอยู่หลายแห่ง ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวต่างก็ประทับใจ และตั้งฉายาว่า" Pearl of Andaman " หรือไข่มุกแห่งอันดามัน


สิ่งสำคัญที่อยู่บนแหลมพรหมเทพอีกอย่างก็คือ ประภาคาร ซึ่งเป็นหอคอยสูง กลางคืนจะเปิดไฟส่องวับวาบ ให้สัญญาณกับเรือที่กำลัง แล่นอยู่กลางทะเล ประภาคารนี้ได้สร้างขึ้นมาใหม่ในช่วงเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก 50 ปี มีชื่อว่า ประภาคารกาญจนาภิเษก และตรงจุดนี้ก็เป็นที่รายงานเวลาพระอาทิตย์ตกของประเทศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในช่วงข่าวตอนเย็นๆ


แหลมพรหมเทพสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ทุกครั้งที่มาเที่ยวอาจเห็นภาพและบรรยากาศที่แตกต่าง กันออกไป หากวันใดมีฟ้าใสไร้เมฆ ก็จะเห็นภาพอาทิตย์ลูกกลมๆสวยงาม หรือหากวันใดมีเมฆมากก็จะเห็นภาพไปอีกแบบหนึ่ง การมาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่จึงเห็นความงดงามที่ไม่ซ้ำกัน
ภาพสวยๆบางครั้งธรรมชาติก็เป็นใจหยิบยื่นให้ แต่สำคัญอยู่ที่ตัวเราต่างหากที่ต้องค้นหา พยายามให้ตัวเราเป็นหลักแล้วให้ธรรมชาติเป็นเรื่องรอง เที่ยวไปที่ไหนก็รับรองว่ามีแต่ภาพสวยๆมาให้ดูกันมากมาย


หมู่เกาะสุรินทร์


 หมู่เกาะสุรินทร์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม .. 2524 มีขนาดพื้นที่ 135 ตารางกิโลเมตร (84,357 ไร่) เป็นพื้นที่เกาะร้อยละ 24 ที่เหลือเป็นทะเล ประกอบด้วย 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี (สต็อคหรือไฟแว๊บ) เกาะกลาง (ปาจุมบาหรือมังกร) และเกาะไข่ (ตอรินลา) บริเวณใกล้เคียงยังมีหินแพและหินกอง และทางทิศตะวันออก ห่างจากเกาะประมาณ 14 กิโลเมตร มีกองหินโผล่น้ำที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องการดำน้ำลึกชื่อว่า ริเชลิ่ว ปัจจุบันกำลังผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและกิจกรรมที่น่าสนใจ
• 
เกาะสุรินทร์เหนือ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีบ้านพัก ร้านอาหาร อุปกรณ์ดำน้ำตื้นและเรือหางยาว เกาะสุรินทร์เหนือมีภูมิสัณฐานที่เป็นอ่าวเว้าแหว่งอยู่รอบ แต่ละแห่งล้วนกว้างใหญ่ สวยงามและสงบ จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมกางเต็นท์มากที่สุดคือบริเวณหน้าอ่าวช่องขาด ตรงข้ามกับเกาะสุรินทร์ใต้ และบริเวณนี้ยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ตกที่สวยงามมาก รองลงมาคือลานกว้างเหนือหาดที่อ่าวไม้งาม ส่วนอ่าวอื่น ต้องนั่งเรือหางยาว เช่น อ่าวจาก ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 45 นาที

• 
เกาะสุรินทร์ใต้ มีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง แต่ต้องนั่งเรือไปจากเกาะสุรินทร์เหนือเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการดำน้ำตื้นรอบๆเกาะ จุดเด่นคือ อ่าวสุเทพ อ่าวผักกาด และจุดที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสพบเต่ามากที่สุดก็คือ เกาเต่า
• 
ดำน้ำลึก หมู่เกาะสุรินทร์มีแหล่งดำน้ำลึกที่สวยงามมากมายโดยเฉพาะที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือ กองหินปริ่มน้ำที่มีชื่อว่า ริเชลิว ซึ่งกำลังจะถูกผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ กองหินนี้อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์มาทางทิศตะวันออกประมาณ 14 กิโลเมตร สำหรับนักดำน้ำที่สนใจสามารถติดต่อกับทัวร์ได้ทั่วไป ส่วนจุดดำน้ำลึกรอบเกาะนั้นก็มีอยู่หลายแห่ง





• ดำน้ำตื้น ในบริเวณอ่าวรอบๆ หมู่เกาะสุรินทร์เกือบทุกอ่าวจะเต็มไปด้วยแนวปะการังแข็งที่สมบูรณ์ที่สุดของท้องทเลไทย เป็นที่อาศัย หากิน หลบภัย และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากในระบบนิเวศ ทั้งหมดนี้สามารถชมได้เพียงก้มมองใต้ผิวน้ำ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงไม่พลาดโอกาส ที่จะต้องลงดำน้ำตื้นเมื่อมาถึงหมู่เกาะสุรินทร์